พระพุทธศาสนามีทฤษฎีและวิธีการที่เป็นสากล
และมีข้อปฏิบัติที่ยึดทางสายกลาง
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเป็นหลักความจริงที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติที่พระองค์ได้ทรงค้นพบ ด้วยตนเองโดยชอบ คนนั้นก็ได้ชื่อว่าเป็นพระพุทธเจ้าด้วย เพราะคำว่า
พุทธะ แปลว่า ผู้รู้ หรือ ผู้รู้สัจธรรม
หลักคำสั่งสอนที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบแล้วนำมาประกาศ
เปิดเผย และสั่งสอน ประชาชนชาวโลก ตลอดระยะเวลา 45 ปี เหมาะสมแก่บุคคลทุกระดับชั้น
ใครก็ตามนำไปประพฤติปฏิบัติย่อมได้รับผลตามสมควรแก่การปฏิบัติ
พระพุทธศาสนามีทฤษฎีและวิธีการที่เป็นสากล
ทฤษฎี หมายถึง หลักการ คำว่า วิธีการ หมายถึง แบบอย่างหรือกฎเกณฑ์ และ คำว่า สากล หมายถึง ทั่วไป ดังนั้น พระพุทธศาสนามีทฤษฎีและวิธีการที่เป็นสากล หมายถึง พระพุทธศาสนามีหลักคำสั่งอ่านเพิ่มเติม
|
วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2559
พระพุทธศาสนามีทฤษฎีและวิธีการที่เป็นสากล และมีข้อปฏิบัติที่ยึดทางสายกลาง
วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2559
วันวิสาขบูชา
วันวิสาขบูชา
ต ร ง กั บ วั น ขึ้ น ๑ ๕ ค่ำ เ ดื อ น ๖
ความหมาย คำว่า "วิสาขบูชา" หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญเดือน
๖ วิสาขบูชา ย่อมาจาก " วิสาขปุรณมีบูชา " แปลว่า "
การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ " ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองหน
ก็เลื่อนไปเป็นกลางเดือน ๗
ความสำคัญ วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ
คือเกิด ได้ตรัสรู้ คือสำเร็จ ได้ปรินิพพาน คือ ดับ เกิดขึ้นตรงกันทั้ง ๓
คราวคือ
๑. เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ ประสูติที่พระราชอุทยานลุมพินีวัน ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับเทวทหะ เมื่อเช้าวันศุกร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีจอ ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปีอ่านเพิ่มเติม |
มโหสถชาดก
มโหสถชาดก
ในเมืองมิถิลา
มีเศรษฐีผู้หนึ่งมีนามว่า สิริวัฒกะ ภรรยาชื่อ นางสุมนาเทวี
นางสุมนาเทวีมีบุตรชายคนหนึ่ง ซึ่งเมื่อคลอด ออกมานั้นมีแท่งโอสถอยู่ในมือ
เศรษฐีสิริวัฒกะเคยเป็นโรค ปวดศีรษะมานาน จึงเอาแท่งยานั้นฝนที่หินบดยา แล้วนำมา
ทาหน้าผาก อาการปวดศีรษะก็หายขาด ครั้นผู้อื่นที่มีโรคภัย
ไข้เจ็บมาขอปันยานั้นไปรักษาบ้าง ก็พากันหายจากโรค เป็นที่เลื่องลือไปทั่ว
เศรษฐีจึงตั้งชื่อบุตรว่า "มโหสถ" เพราะทารกนั้นมีแท่งยาวิเศษ
เกิดมากับตัว เมื่อมโหสถเติบโตขึ้น ปรากฏว่ามีสติปัญญาเฉลียวฉลาด
กว่าเด็กในวัยเดียวกันอ่านเพิ่มเติม
|
วันอัฏฐมีบูชา
วันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ
ความหมาย เนื่องด้วยอัฏฐมีคือวันแรม ๘ ค่ำ แห่งเดือนวิสาขะ (เดือน ๖) เป็นวันที่ถือกันว่าตรงกับวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ เมื่อถึงวันนี้แล้ว พุทธศาสนิกชนบางส่วน ผู้มีความเคารพกล้าในพระพุทธองค์ มักนิยมประกอบพิธีบูชา ณ ปูชนียสถานนั้น ๆ วันนี้จึงเรียกว่า "วันอัฏฐมีบูชา"
ประวัติความเป็นมา
เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว
๘ วัน มัลลกษัตริย์แห่งนครกุสินารา พร้อมด้วยประชาชน
และพระสงฆ์อันมีพระมหากัสสปเถระเป็นประธาน
ได้พร้อมกันกระทำการถวายพระเพลิงพุทธสรีระ ณ มกุฏพันธนเจดีแห่งกรุงกุสินารา
วันนั้นเป็นวันหนึ่งที่ชาวพุทธต้องมีความสังอ่านเพิ่มเติม
|
หน่วยการเรียนรู้ที่6 การบริหารจิตและเจริญปัญญา
การบริหารจิตและเจริญปัญญา
1. การบริหารจิต
การบริหารจิต หมาย ถึง การบำรุงรักษาจิตให้เข้มแข็งผ่องใสบริสุทธิ์ ซึ่งต่างกับการบริหารกาย เพราะการบริหารกายต้องทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวอยู่เสมอแต่การบริหารจิต จะต้องฝึกฝนให้จิตสงบนิ่งอยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งการฝึกจิตให้สงบ คือการทำสมาธินั่นเอง สมาธิ หมายถึง ภาวะของจิตที่ตั้งมั่น กำหนดแน่วแน่อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือ เรื่องใดเรื่องหนึ่งติดต่อกันเป็นเวลานานๆ ไม่ฟุ้งซ่านไปหาสิ่งอื่นหรือเรื่องอื่นจากสิ่งที่กำหนด ภาวะที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งหรืออารมณ์เดียวและจิตตั้งมั่นนั้นจะต้องเป็น กุศล ลักษณะของสมาธิ คือ จิตจะเกิดความสงบ เยือกเย็น สบายใจ มีความผ่อนคลาย เอิบอิ่มใจ ปลอดโปร่ง และมีความสุขอ่านเพิ่มเติม |
หน่วยการเรียนรู้ที่5 พระไตรปิฎกและพุทธศาสนสุภาษิต
หน่วยที่ 4 พระไตรปิฎกและพุทธศาสนสุภาษิต
พระไตรปิฎก : โครงสร้าง
ชื่อคัมภีร์และสาระสังเขปของพระสุตตันตปิฎก
พระไตรปิฎก : โครงสร้าง
ชื่อคัมภีร์และสาระสังเขปของพระสุตตันตปิฎก
ชื่อคัมภีร์และสาระสังเขปของพระสุตตันปิฎก พระสูตร หรือที่เรียกในทางวิชาการว่า พระสุตตันปิฎก เป็น 1 ใน 3 ปิฎก มีลักษณะที่แตกต่างออกไปจากพระวินัยปิฎกและ พระอภิธรรมปิฎก คือ เป็นการแสดงพระธรรมเทศนาที่มี
บุคคล
เหตุการณ์และสถานที่เข้ามาประกอบที่เรียกว่า บุคลาธิษฐาโดยที่พระพุทธเจ้าทรงปรารภบุคคลเป็นต้นแล้วทรงถือโอกาสแสดงธรรมเทศนา
ที่มีลักษณะเป็นธรรมาธิษฐานบ้าง
แต่ก็มีเป็นส่วนน้อย
พระธรรมเทศนาในพระสูตรมีเป็นจำนวนมากอ่านเพิ่มเติม |
หน่วยการเรียนรู้ที่4 หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
หลักธรรมสำคัญของพระพุทธศาสนา
1.ขันธ์ 5 หรือ เบญจขันธ์ คือ องค์ประกอบของชีวิตมนุษย์ที่ประกอบด้วยรูปและนาม
รูป คือ ส่วนที่เป็นร่างกาย ประกอบด้วยธาตุ 4 ได้แก่
- ธาตุดิน(ส่วนของร่างกายที่เป็นของแข็ง เช่น เนื้อ กระดูก ผม)
- ธาตุน้ำ (ส่วนที่เป็นของเหลวของร่างกาย) เช่น เลือด น้ำลาย น้ำเหลือง น้ำตา )
- ธาตุลม (ส่วนที่เป็นลมของร่างกาย ได้แก่ ลมหายใจเข้าออก ลมในกระเพาะอาหาร)
- ธาตุไฟ ( ส่วนที่เป็นอุณหภูมิของร่างกาย ได้แก่ ความร้อนในร่างกายมนุษย์)อ่านเพิ่มเติม
1.ขันธ์ 5 หรือ เบญจขันธ์ คือ องค์ประกอบของชีวิตมนุษย์ที่ประกอบด้วยรูปและนาม
รูป คือ ส่วนที่เป็นร่างกาย ประกอบด้วยธาตุ 4 ได้แก่
- ธาตุดิน(ส่วนของร่างกายที่เป็นของแข็ง เช่น เนื้อ กระดูก ผม)
- ธาตุน้ำ (ส่วนที่เป็นของเหลวของร่างกาย) เช่น เลือด น้ำลาย น้ำเหลือง น้ำตา )
- ธาตุลม (ส่วนที่เป็นลมของร่างกาย ได้แก่ ลมหายใจเข้าออก ลมในกระเพาะอาหาร)
- ธาตุไฟ ( ส่วนที่เป็นอุณหภูมิของร่างกาย ได้แก่ ความร้อนในร่างกายมนุษย์)อ่านเพิ่มเติม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)